AI Thailand | แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)
AI Thailand คือ โครงการปัญญาประดิษฐ์ระดับประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยให้บรรลุผลและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ รวมถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากรภายในประเทศ ตลอดจนมุ่งสร้างระบบนิเวศเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
โดยได้จัดทำ “แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและนําไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผ่าน 5 ยุทธศาสตร์ 15 แผนงาน
การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฏหมาย และกฏระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
- ประชาชนไม่ต่ำกว่า 600,000 คน เกิดความตระหนักทางด้าน AI
- กฏหมาย / ระเบียบ / ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ AI ถูกประกาศใช้งานไม่ต่ำกว่า 1 ฉบับ
1.1 พัฒนาข้อกําหนด กฎหมาย มาตรฐาน และ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับ AI ของประเทศ
1.2 สื่อสารและสร้างการรับรู้ด้านจริยธรรม AI
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- พร้อมยกระดับดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลไทยให้สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าลำดับที่ 50 ของโลก
- เกิดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลสำหรับสนุนงานด้าน AI ในภาครัฐและเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
2.1 สร้างเครือข่ายเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2.2 พัฒนาศูนย์เชื่อมโยงและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่
2.3 พัฒนาแพลตฟอร์มกลางระดับประเทศเชิงบูรณาการ
2.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลและคำนวณขั้นสูง
การเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์
- บุคลากรด้าน AI ของประเทศ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30,000 คน
3.1 พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ทุกระดับการเรียนรู้
3.2 สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคธุรกิจ
3.3 พัฒนากลไกความร่วมมือกับนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- ความเข้มแข็งทางเทคโนโลยี AI เพิ่มขึ้น โดยเกิดต้นแบบจากผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้าน AI ไม่ต่ํากว่า 100 ต้นแบบ
- ผลงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมด้าน AI ถูกนําไปใช้อย่างทั่วถึงและช่วยสร้างผลกระทบในภาคธุรกิจและภาคสังคมได้ไม่ต่ำกว่า 4.4 หมื่นล้านบาทในปี พ.ศ. 2570
4.1 ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่กลุ่มสาขาเป้าหมาย
4.2 พัฒนาเทคโนโลยีฐาน (core tech) และการวิจัยเพื่อสนุนแพลตฟอร์ด้านปัญญาประดิษฐ์
การส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและ ระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน
- เกิดจํานวนหน่วยงานที่มีการใช้งานนวัตกรรม AI ทั้งใน รัฐผู้ประกอบการใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี หรือไม่ต่ำกว่า 600 รายใน 6 ปี
- ขีดความสามารถในการแข่งขันด้าน AI ของประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยมูลค่าตลาด AI ที่เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2570
5.1 ส่งเสริมการใช้ AI ในภาครัฐ
5.2 ส่งเสริมการใช้ AI ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
5.3 ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชื่อมโยง Al สู่การใช้งาน
5.4 พัฒนากลไกและ sandbox เพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจและ Al startup
วิสัยทัศน์ (Vision)
วัตถุประสงค์ (Objectives)
สร้างคนและเทคโนโลยี
- พัฒนาทักษะกำลังคนด้าน AI (Reskill Upskill Newskill) สําหรับครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา
- เสริมทักษะ AI กับสายงานอื่น (Cross skills)
- นำไปสู่สร้างอาชีพใหม่ที่ใช้ความรู้และทักษะด้านดิจิทัล
สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูง
- เพิ่มผลิตภาพขับเคลื่อนวาระสำคัญของรัฐบาล
- ส่งเสริมให้เกิดธุรกิจ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล (Tech Startups / SME / Digital Business)
สร้างผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ให้ประชาชนเข้าใจถึงผลกระทบและทำงานร่วมกับ AI ได้
- สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ การศึกษาและสุขภาพการแพทย์
- รักษาและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
- ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- ประเทศมีความมั่นคงและปลอดภัย