PROGRAMS

โครงการภายใต้การขับเคลื่อนของ AI Thailand แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยโครงการในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2566) ภายใต้แผนปฎิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ดังนี้ 

1. โครงการสร้างแนวปฎิบัติเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลและจริยธรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ AI (AI ELSI) 

เป้าหมาย
การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ส่งเสริมการพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมและความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและผู้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ได้ และสร้างการตระหนักรู้ (Awareness) ด้านจริยธรรม กฎหมาย และผลกระทบต่อสังคมของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และบุคลากรต้นทาง กลางทาง และปลายทางของกระบวนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีและพร้อมเข้าสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์

ตัวชี้วัดสำคัญ

1. ผลการศึกษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตามแนวทาง AI Ethics ของประเทศไทย 1 ฉบับ
2. กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี AI ไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ


การเตรียมความพร้อมด้านจริยธรรม AI
• จัดทำคู่มือด้านจริยธรรม AI สำหรับการใช้งานในประเทศไทย
จัดทำหลักสูตรอบรมออนไลน์ มีผู้ผ่านการอบรม ภาคทฤษฎี 4,112 คน ภาคปฏิบัติ 1,229 คน

การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย AI
อยู่ระหว่างดำเนินการร่าง พรฎ. ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี AI

 

 

2. โครงการโครงสร้างพื้นฐานและบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Service)

เป้าหมาย
เตรียมโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านเทคโนโลยี AI เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดสำคัญ
1. ศูนย์บริการคลาวด์ภาครัฐ และบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง

2. ศูนย์กลางบริการด้าน AI ทั้งแบบสาธารณะและเชิงพาณิชย์
3, เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการ AI

โครงสร้างพื้นฐาน AI
ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ
Government Data Center and Cloud service (GDCC)

ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง อันดับ 1 ใน อาเซียน (2566)

 

ศูนย์กลางบริการ AI
• บริการ AI เพื่อประมวลผลข้อความ ภาพ และสนทนาภาษาไทย จำนวน 62 บริการ
• คลังข้อมูลสำหรับสร้าง AI 19 คลัง
• มีผู้ใช้ 18 หน่วยงาน
• สถิติการเรียกใช้บริการ 31.62 ล้านครั้ง

เครือข่ายผู้ให้บริการ AI

• สมาพันธ์ AI ประเทศไทย

เครือข่าย AI University 

 

3. โครงการเตรียมพร้อมกำลังคนด้าน AI แห่งอนาคต (AI Engineer)

เป้าหมาย พัฒนากำลังคนให้มีทักษะในการผลิตและใช้เทคโนโลยี AI ตอบรับความต้องการของตลาดแรงงาน

ตัวชี้วัดสำคัญ พัฒนากำลังคนด้าน AI เพื่อป้อนเข้าสู่ ภาคธุรกิจและภาครัฐ 30,000 คน ภายในปี 2570

โครงการพัฒนานวัตกร วิศวกร นักวิจัย วิสาหกิจเริ่มต้น และด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)

• จัดอบรมเป็นปีที่ 2 ภายใต้ทุนสนับสนุนบพค. (ววน.)
• ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 7,678 ราย
• 668 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ AI ในระดับกลาง
• 301 คน คน ผ่านเข้ารับการพัฒนาทักษะ AI ในระดับสูง
• 223 คนได้รับการฝึกงาน ใน 42 องค์กรภาครัฐและเอกชน
เกิดบริษัท Startup รวม 9 บริษัท

แผนการจัดอบรมปี 2566
• ขยายการอบรมสู่ 6 ภูมิภาค
• เสนอแนวทางการรับรองมาตรฐานคอร์สอบรมด้าน AI
• เสนอกลไกดึงดูดแรงงาน และภาคธุรกิจ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยสิทธิประโยชน์จาภาครัฐ

4. โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบ AI ในภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรไทย (Gov Services)

คำอธิบาย : การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ