กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดการประชุมหารือ (ร่าง) โครงการนำร่องภายใต้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2567 – 2570) เพื่อให้เกิดแนวทางดำเนินงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ร่วมกับเครือข่ายเชี่ยวชาญที่ตรงกับความต้องการของประเทศ ตอบโจทย์ตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป โอกาสนี้ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดการประชุมในฐานะกรรมการภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล เขตราชเทวี กรุงเทพฯ
1 ปีผ่านไปแผน AI ประเทศไทยทำอะไร ไปถึงไหน ? เผยผลงานแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 1
ส่องทิศทาง ร่าง 6 โปรเจกต์นำร่อง ! ขับเคลื่อนแผน AI ประเทศไทย ระยะที่ 2
1) โครงการพัฒนาศูนย์กลางเชื่อมโยงและการบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวให้ประเทศไทย (Travel Link)
“ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ ภาครัฐสามารถวางแผนและการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่ท่องเที่ยว เพื่อลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยวในเมืองหลัก อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวในประเทศได้อย่างเหมาะสม สร้างความยั่งยืนให้กับภาคท่องเที่ยวไทย สำหรับภาคเอกชน สามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อพัฒนาการตลาดและการแข่งขันทางธุรกิจ หรือใช้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อพัฒนาบริการ/ผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตามความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น ด้านนักท่องเที่ยว สามารถวางแผนการท่องเที่ยวที่ตรงกับความพึงพอใจได้อย่างลงตัว และสามารถค้นหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวได้สะดวกมากยิ่งขึ้น” ดร.ธีรณี กล่าว
2) โครงการ Strengthening Fraud Detection Ecosystem with Data Lab
“คาดว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ความมั่นคงปลอดภัยของประชาชนในการทำธุรกรรมทางการเงิน ลดการสูญเสียทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำทุจริต อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถของภาครัฐในการควบคุมดูแลการดำเนินธุรกรรมทางการเงิน การตรวจสอบและการดำเนินคดีทางกฏหมายเมื่อเกิดการกระทำทุจริต รวมถึงสร้างสภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีเสถียรภาพในระบบการเงินของประเทศ ส่งผลต่อการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการใช้บริการทางการเงิน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคเอกชน” ดร.นครินทร์ กล่าว
3) โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล
เพื่อให้ประเทศไทยมีศูนย์ดำเนินงานด้านการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล (AI Governance Center) ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ETDA) อธิบายถึงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงานของโครงการ โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้าน AI Governance, Toolkits ใหม่ๆ รวมถึงมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI และส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยสำหรับ Sector หรือ Regulator พร้อมสร้างเครือข่ายทำงานด้านงานวิจัย AI ในประเทศ/ต่างประเทศ อีกทั้งยังพัฒนาและถ่ายทอดความรู้พร้อมให้คำปรึกษาการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีธรรมาภิบาล ทั้งด้านนโยบาย กฎหมาย มาตรฐาน และการกำกับดูแล มีศูนย์ทดสอบ AI Testing สำหรับระบบ/บริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ มีกลไกสนามทดสอบ (Sandbox) แนวคิดการประยุกต์ใช้ AI รวมถึงนวัตกรรมใหม่ รวมถึงสนับสนุนการขยายผลการประยุกต์ใช้ AI อย่างมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลตามแผนปฏิบัติการ AI ประเท
4) โครงการ Thai Large Language Model (Thai LLM)
โครงการนี้มีแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่ภาษาไทย (LLM) ที่มีความสามารถในการสร้างข้อความที่มีความหมายและเป็นธรรมชาติใกล้เคียงกับการใช้ภาษาของมนุษย์ ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร นายกสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) อธิบายว่า Thai LLM อาศัยการเรียนรู้จากข้อมูลภาษาไทยที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายพร้อมทำการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI สำหรับภาษาไทยที่เป็นโมเดลกลางสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางในหลากหลายงานประยุกต์ทั้งในกาครัฐและเอกชน อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาบุคลากรด้าน AI ในประเทศไทยให้มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการพัฒนาและใช้งาน AI อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้าน AI ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย
5) โครงการตรวจสอบและประเมินอัตลักษณ์บุคคลจากข้อมูลชีวมิติ
6) โครงการ AI-based Machine Vision เพื่อขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 4.0
ในช่วงท้ายของการประชุมฯ ได้จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น แนวทางการส่งเสริมและการขับเคลื่อนโครงการนำร่องภายใต้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ดำเนินการโดย นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
โดยผู้เข้าร่วมจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ ผู้แทนจากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผู้แทนจากคณะกรรมการขับเคลื่อนแผน AI ประเทศไทย รวมถึงสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้ข้อคิดเห็นต่อ 6 โครงการนำร่องดังกล่าว รวมถึงประเด็นการพัฒนา AI ในประเทศ เป็นประโยชน์ในการดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยทำให้เกิดความร่วมมือ และสร้างภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการจัดทำโครงการสำคัญ ๆ และ สามารถมองเห็นผู้มีส่วนร่วมที่จะเข้ามาเป็นหน่วยงานในการขับเคลื่อน หน่วยงานสนับสนุน และหน่วยงานผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทยมีความร้อยเรียงและเข้มแข็งมากขึ้น