PROGRAMS
โครงการภายใต้การขับเคลื่อนของ AI Thailand แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบไปด้วยโครงการในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2566) ภายใต้แผนปฎิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติฯ ดังนี้
1. โครงการสร้างแนวปฎิบัติเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูลและจริยธรรมเพื่อการประยุกต์ใช้ AI (AI ELSI)
เป้าหมาย
การเตรียมความพร้อมของประเทศในด้านสังคม จริยธรรม กฎหมาย และกฎระเบียบสำหรับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่าง ๆ ที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ส่งเสริมการพัฒนาและใช้งานปัญญาประดิษฐ์อย่างมีจริยธรรมและความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนและผู้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ได้ และสร้างการตระหนักรู้ (Awareness) ด้านจริยธรรม กฎหมาย และผลกระทบต่อสังคมของปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป และบุคลากรต้นทาง กลางทาง และปลายทางของกระบวนการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ มีความรู้เท่าทันเทคโนโลยีและพร้อมเข้าสู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์
ตัวชี้วัดสำคัญ
1. ผลการศึกษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตามแนวทาง AI Ethics ของประเทศไทย 1 ฉบับ
2. กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี AI ไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ
การเตรียมความพร้อมด้านจริยธรรม AI
• จัดทำคู่มือด้านจริยธรรม AI สำหรับการใช้งานในประเทศไทย
• จัดทำหลักสูตรอบรมออนไลน์ มีผู้ผ่านการอบรม ภาคทฤษฎี 4,112 คน ภาคปฏิบัติ 1,229 คน
การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย AI
อยู่ระหว่างดำเนินการร่าง พรฎ. ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและใช้งานเทคโนโลยี AI
2. โครงการโครงสร้างพื้นฐานและบริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Service)
เป้าหมาย
เตรียมโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนด้านเทคโนโลยี AI เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัดสำคัญ
1. ศูนย์บริการคลาวด์ภาครัฐ และบริการคอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง
2. ศูนย์กลางบริการด้าน AI ทั้งแบบสาธารณะและเชิงพาณิชย์
3, เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้บริการ AI
โครงสร้างพื้นฐาน AI
ระบบคลาวด์กลางภาครัฐ
Government Data Center and Cloud service (GDCC)
ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณขั้นสูง อันดับ 1 ใน อาเซียน (2566)
ศูนย์กลางบริการ AI
• บริการ AI เพื่อประมวลผลข้อความ ภาพ และสนทนาภาษาไทย จำนวน 62 บริการ
• คลังข้อมูลสำหรับสร้าง AI 19 คลัง
• มีผู้ใช้ 18 หน่วยงาน
• สถิติการเรียกใช้บริการ 31.62 ล้านครั้ง
เครือข่ายผู้ให้บริการ AI
• สมาพันธ์ AI ประเทศไทย
• เครือข่าย AI University
3. โครงการเตรียมพร้อมกำลังคนด้าน AI แห่งอนาคต (AI Engineer)
เป้าหมาย พัฒนากำลังคนให้มีทักษะในการผลิตและใช้เทคโนโลยี AI ตอบรับความต้องการของตลาดแรงงาน
ตัวชี้วัดสำคัญ พัฒนากำลังคนด้าน AI เพื่อป้อนเข้าสู่ ภาคธุรกิจและภาครัฐ 30,000 คน ภายในปี 2570
โครงการพัฒนานวัตกร วิศวกร นักวิจัย วิสาหกิจเริ่มต้น และด้านปัญญาประดิษฐ์ (Super AI Engineer)
• จัดอบรมเป็นปีที่ 2 ภายใต้ทุนสนับสนุนบพค. (ววน.)
• ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 7,678 ราย
• 668 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ AI ในระดับกลาง
• 301 คน คน ผ่านเข้ารับการพัฒนาทักษะ AI ในระดับสูง
• 223 คนได้รับการฝึกงาน ใน 42 องค์กรภาครัฐและเอกชน
• เกิดบริษัท Startup รวม 9 บริษัท
แผนการจัดอบรมปี 2566
• ขยายการอบรมสู่ 6 ภูมิภาค
• เสนอแนวทางการรับรองมาตรฐานคอร์สอบรมด้าน AI
• เสนอกลไกดึงดูดแรงงาน และภาคธุรกิจ เข้าร่วมกิจกรรมด้วยสิทธิประโยชน์จาภาครัฐ
4. โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบ AI ในภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรไทย (Gov Services)
คำอธิบาย : การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในหน่วยงานภาครัฐ